ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
main content, press tab to continue
บทความ

ผลตอบแทน ผลประโยชน์ และการสร้างสรรค์ประสบการณ์พนักงาน คือ สิ่งที่องค์กรต้องรับมือจากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อ

โดย Edward Hsu | 10 November 2022

ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้องค์กรต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกต้องวางแผนด้านค่าตอบแทนและทรัพยากรบุคคลให้ดียิ่งขึ้น
Compensation Strategy & Design
N/A

องค์กรและพนักงานทั่วโลกต่างเผชิญกับแรงกดดันที่เป็นผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เมื่อเดือนกันยายน 2022 ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 8.3% สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มาก สหราชอาณาจักรเองก็เผชิญกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น 10.1% ซึ่งพุ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี

แรงกดดันทางเศรษฐกิจเช่นนี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบทั่วเอเชียแปซิฟิกมากนัก ตลาดหลายแห่งในภูมิภาคยังคงมองว่ามีโอกาสเติบโต แต่ทว่าก็ยังคงระมัดระวังตัวอยู่ โดยคาดว่าในปี 2022 ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในของเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตเฉลี่ย 4.3% และ 3.5% ในปี 2023 และคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะลดลงเหลือ 2.5% ในปี 2023 จาก 4% ในปีนี้

นอกจากนี้แล้ว อัตราการว่างงานในภูมิภาคยังลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2019 โดยคาดว่าจะลดลงเหลือ 4.1% ในปี 2023 จาก 5.2% ในปี 2022 ควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและความต้องการด้านบุคลากรที่มีความสามารถสูงในภูมิภาค โดยข้อมูลของรายงานการสำรวจการวางแผนงบประมาณเงินเดือนปี 2022 ของ WTW (ฉบับเดือนกรกฎาคม)[1]
คาดว่าค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.1% ในปี 2023 จาก 4.9% ในปีนี้

ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายและดัชนีราคาผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ปี 2019 ถึง 2023
รูปที่ 1 ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายและดัชนีราคาผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ปี 2019 ถึง 2023

แต่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกยังคงเป็นสาเหตุทำให้องค์กรส่วนใหญ่ไม่มั่นใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ บริษัทกว่า 66% ในเอเชียแปซิฟิกระบุว่ายังไม่มีแผนการที่จะขยายหรือลดจำนวนพนักงานในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดยองค์กรในตลาดที่มีการดำเนินธุรกิจแบบระวังตัวอยู่เสมออย่างออสเตรเลีย ฮ่องกง และไทย ก็ยังไม่มีแผนที่จะเพิ่มพนักงานในอีก 12 เดือนข้างหน้า แม้ว่าจะไม่ได้เผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงเป็นประวัติการณ์เหมือนภูมิภาคอื่น แต่ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้องค์กรต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกต้องวางแผนด้านค่าตอบแทนและทรัพยากรบุคคลให้ดียิ่งขึ้น

การวางแผนจำนวนพนักงานขององค์กรในเอเชียแปซิฟิก
รูปที่ 2 การวางแผนจำนวนพนักงานขององค์กรในเอเชียแปซิฟิก

ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อต่อผลตอบแทนพนักงาน

ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อทำให้องค์กรหลายแห่งต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านผลตอบแทนของพนักงาน แม้ในเอเชียแฟซิฟิก อัตราเงินเฟ้อจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนที่องค์กรมอบให้พนักงานมากนัก แต่ปัจจัยขับเคลื่อนที่ทำให้เงินเดือนพนักงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกตลาดตั้งแต่ปี 2021 ถึง 2023 เป็นผลจากการแย่งชิงเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานขององค์กรต่าง ๆ เห็นได้จากกลยุทธ์การรักษาพนักงานขององค์กรที่พร้อมใจมอบโบนัสเพื่อดึงดูดพนักงานมากขึ้น โดยจำนวนเงินโบนัสที่มอบให้มีตั้งแต่ 15% ถึง 30% ของฐานเงินเดือนพนักงาน

ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรที่ประสบปัญหาอัตราเงินเฟ้ออย่างหนัก องค์กรหลายแห่งต้องเพิ่มงบประมาณเงินเดือนประจำปีและเงินงบประมาณเพิ่มเติมอีกหลายด้านเพื่อปรับเงินเดือนพนักงานเป็นพิเศษ ซึ่งโดยปกติแล้วจะปรับโดยยึดตาม 'ความจำเป็น' การปรับเงินเดือนส่วนใหญ่ยังปรับมอบให้กลุ่มพนักงานเป้าหมาย เช่น พนักงานที่มีทักษะสูงและพนักงานที่มีแนวโน้มจะลาออก เพื่อสร้างแรงจูงใจให้อยู่กับองค์กรต่อไป นอกเหนือจากกลุ่มพนักงานที่มีความสามารถพิเศษแล้ว องค์กรยังมอบโบนัสในลักษณะนี้ด้วยรูปแบบของการช่วยอุดหนุนค่าครองชีพที่สูงขึ้นอีกด้วย โดยกลุ่มบุคลากรเป้าหมายที่จะได้รับโบนัสดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มผู้จัดการ ผู้ประกอบวิชาชีพ และพนักงานที่มีทักษะสูงที่เป็นที่ต้องการของตลาด

กลุ่มพนักงานเป้าหมายที่จะได้รับโบนัสเพื่อจูงใจให้อยู่กับองค์กรต่อไป
รูปที่ 3 กลุ่มพนักงานเป้าหมายที่จะได้รับโบนัสเพื่อจูงใจให้อยู่กับองค์กรต่อไป

องค์กรหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรยังให้ความสำคัญต่อการมอบค่าตอบแทนให้พนักงานในลักษณะอื่นที่ไม่ใช่ในรูปของการให้เงินมากขึ้นด้วย เช่น การเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นและการเสริมสร้างโปรแกรมด้านผลประโยชน์ของพนักงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการอบรมเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรด้วย[2] ซึ่งองค์กรบางแห่งในเอเชียแปซิฟิกเริ่มนำกลยุทธ์เดียวกันนี้มาใช้มากขึ้น

อัตราเงินเฟ้อส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านผลประโยชน์พนักงาน

จากการสำรวจแนวโน้มทางการแพทย์ทั่วโลกประจำปี 2023 ของ WTW คาดว่า ค่าใช้จ่ายด้านผลประโยชน์ของบริการสุขภาพในเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้นจาก 6.9% เป็น 10.2% ในปีหน้า และเกือบ 3 ใน 4 ของบริษัทประกันคาดว่าแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไปในอีก 3 ปีข้างหน้า ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ พากันมองหาลู่ทางตอบโจทย์ความต้องการด้านผลประโยชน์พนักงานทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว

โดยพบว่าการดำเนินการระยะสั้นขององค์กรหลายแห่งมีตั้งแต่การเปรียบเทียบแผนผลประโยชน์พนักงานกับองค์กรอื่นเพื่อทบทวนปรับเปลี่ยนแผนผลประโยชน์ของตัวเอง พร้อมกับมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนประสิทธิภาพการทำงานและรวมผลประโยชน์ด้านต่าง ๆ ให้ครอบคลุมอยู่ในแผนเดียว ไปจนถึงการเจรจากับนายหน้าประกันเพื่อให้พนักงานได้รับบริการสุขภาพดีที่สุด สำหรับมาตรการระยะยาวนั้นการสำรวจแนวโน้มผลประโยชน์พนักงานประจำปี 2021 ของเรา พบว่า มีองค์กรมากขึ้น (59%) ที่ให้ความสำคัญต่อการวิเคราะห์ข้อมูลค่าสินไหมทดแทนอย่างละเอียดเพื่อให้เข้าใจถึงแนวโน้มของค่าสินไหมทดแทนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านค่าใช้จ่ายของบริการสุขภาพที่มอบให้พนักงาน นอกจากนี้ องค์กรต่าง ๆ ยังส่งเสริมในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพและร่างกายแข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าสินไหมทดแทนในระยะยาว รวมถึงลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการลาป่วยของพนักงาน และช่วยให้องค์กรจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานให้มีประสิทธิภาพแทนการหาเงินทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพพนักงานอยู่เรื่อย ๆ

ลดผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อต่อพนักงานขององค์กร

สถานการณ์ทางการเงินในยุคปัจจุบันถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความกังวลในหมู่พนักงานมากกว่าที่ผ่านมา ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นยังเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานหลายคนรู้สึกเครียดและกังวลด้วย ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจต่องานที่ทำตามไปด้วย โดยในปี 2022 พบว่ามีพนักงานจำนวนมากขึ้นที่ต้องการลาออกจากองค์กรที่ทำงานอยู่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ซึ่งมีพนักงานประมาณ 1 ใน[3] ที่แสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่าจะลาออกจากองค์กรที่ทำอยู่ปัจจุบัน หรือกล่าวว่ารู้สึกไม่มั่นใจและมีแนวโน้มที่จะลาออก นอกจากนี้ ข้อมูลการวิเคราะห์ของฐานข้อมูลความคิดเห็นพนักงานของ WTW ประจำปี 2022 ยังพบว่า ความรู้สึกที่พนักงานมีต่อผลตอบแทนที่องค์กรมอบให้ลดลงหลายจุดด้วยกันเมื่อเทียบกับข้อมูลของปีที่แล้ว

การรับรู้ถึงผลตอบแทนของพนักงาน
รูปที่ 4 ความรู้สึกของพนักงานต่อผลตอบแทนที่องค์กรมอบให้

แม้ว่าค่าตอบแทนจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้องค์กรดึงดูดและรักษาพนักงานคนเก่งไว้ได้ แต่การทำให้พนักงานขององค์กรรู้สึกผูกพันและมีประสบการณ์การทำงานที่ดีจะต้องขับเคลื่อนด้วยการมีเป้าหมายที่ชัดเจน วัฒนธรรมองค์กรที่ดี และผลประโยชน์ที่มีคุณค่าทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

เริ่มต้นด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้พนักงานข้ามผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากไปได้

  1. 01

    ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการรับฟังพนักงาน

    ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการรับฟังพนักงาน เพื่อให้เข้าใจถึงข้อกังวลของพนักงานทั้งในเรื่องของค่าครองชีพที่สูงขึ้นและความมั่นคงในงานที่ทำ พร้อมกับให้ความสำคัญต่อความต้องการของพนักงานด้วยการปรับค่าตอบแทนและผลประโยชน์ให้สอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวด้วย

  2. 02

    ชุดเครื่องมือเพื่อการศึกษาและการสื่อสาร

    จัดเตรียมชุดเครื่องมือด้านการศึกษาและการสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้จัดการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับค่าตอบแทนให้พนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมประเด็น Total Rewards คุณค่าที่องค์กรต้องการส่งมอบสู่พนักงาน โอกาสความก้าวหน้าทางสายอาชีพ รวมถึงผลลัพธ์ต่อเป้าหมายขององค์กร

  3. 03

    วิธีการสื่อสารและสร้างความผูกพันที่โปร่งใส

    ใช้วิธีการสื่อสารและสร้างความผูกพันที่โปร่งใส ทั้งในเรื่องของแนวโน้มและกลยุทธ์ทางธุรกิจ ไปจนถึงการดำเนินการและแนวทางที่องค์กรวางแผนไว้เพื่อสนับสนุนพนักงานให้รับมือกับอุปสรรคและข้อท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  4. 04

    พนักงานเข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกที่องค์กรนำเสนอ

    เสริมสร้างความเข้าใจของพนักงานเกี่ยวกับทางเลือกต่าง ๆ ของโปรแกรม Total Rewards ที่องค์กรต้องการส่งมอบ พร้อมกับให้ข้อมูลสาระสำคัญเกี่ยวกับสภาวะทางเศรษฐกิจและการจัดการทางการเงิน อีกทั้งปรับปรุงแพลตฟอร์มดิจิทัลขององค์กร สร้างสรรค์รูปแบบการสื่อสารตรงตามเป้าหมาย และจัดทำแผนการดูแลที่ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานตามกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  5. 05

    กระบวนการที่มีการทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    จัดตั้งกระบวนการที่มีการทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้องค์กรมีความพร้อมในการปรับตัวรับกับสภาวะการตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยในช่วงเวลาที่สถานการณ์ค่อนข้างผันผวนเช่นนี้ องค์กรและพนักงานต่างเผชิญกับอุปสรรคข้อท้าทายทางการเงินทั้งสองฝ่าย ดังนั้น สิ่งสำคัญจะต้องมีการนำเอาข้อมูลผลการสำรวจที่มีคุณภาพสูงและเชื่อถือได้มาใช้ประกอบการตัดสินใจและช่วยให้องค์กรตามทันแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศได้ เนื่องจากความผันผวนของแนวโน้มเศรษฐกิจอาจส่งผลต่อเทรนด์ธุรกิจและพนักงานทั่วทั้งภูมิภาค

แหล่งที่มา

  1. 2022 Salary Budget Planning Survey Report (July edition) Return to article
  2. 2022 Inflation and reward actions pulse survey – US and Europe Return to article
  3. WTW Employee Opinion Norm Database – Q2 2022 Return to article

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเรา


Rewards Data Intelligence Leader, International

Managing Director, Employee Experience

Head – Work and Rewards India and Strategic Sales Growth Leader International, Work and Rewards, WTW

Head of Business Development, Health & Benefits, Asia & Australasia

Contact us