ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
main content, press tab to continue
เรื่องราวความสำเร็จ

ประสิทธิภาพของข้อมูลช่วยให้องค์กรปรับเปลี่ยน Total Rewards ที่ตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กรอย่างไร

1 August 2023

ด้วยความเชื่อมั่นต่อการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลเป็นหลัก ทำให้องค์กรผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของโลกแห่งหนึ่งเริ่มปรับเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Total Rewards และผลประโยชน์ใหม่ให้พนักงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Health and Benefits|Employee Experience|Ukupne nagrade
N/A

ความเป็นมา


เช่นเดียวกับองค์กรอื่นส่วนใหญ่ องค์กรผู้ค้าปลีกระดับโลกรายนี้ ซึ่งมีพนักงานในองค์กรมากถึง 85,000 คนและมีรายได้กว่า 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใช้โปรแกรม Total Rewards ในการดึงดูดและรักษาพนักงานคนสำคัญในทุกระดับขององค์กร โดยขณะที่ต้องปรับตัวรับมือกับความต้องการของผู้บริโภคในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ได้อย่างรวดเร็ว องค์กรก็เริ่มดำเนินการตามแผนธุรกิจใหม่ที่เน้นการยกระดับบริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ขององค์กรไปพร้อมกัน องค์กรแห่งนี้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงโปรแกรม Total Rewards ของตัวเองเพื่อให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และด้วยความเชื่อมั่นต่อการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลและข้อเท็จจริงเป็นหลัก ทำให้องค์กรแห่งนี้ตัดสินใจดำเนินโปรแกรม Total rewards Optimization หรือโปรแกรมเพื่อการปรับเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Total Rewards ให้พนักงาน เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของพนักงานและปรับเปลี่ยนแนวทางในการมอบรางวัลตอบแทนและผลประโยชน์ใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ประเด็นข้อท้าทาย


แม้ว่าผู้บริหารองค์กรจะมีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการของพนักงาน แต่ผู้บริหารขององค์กรเองก็ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องนำเอาข้อมูลที่เป็นรูปธรรมมาใช้ในการกำหนดโปรแกรม Total Rewards ให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของพนักงาน สิ่งที่ถือเป็นประเด็นท้าทายที่องค์กรเผชิญคือการรักษาให้พนักงานอยู่กับองค์กรต่อไปให้ได้มากขึ้นและการพัฒนาทักษะของพนักงานเพื่อให้พนักงานสามารถให้การสนับสนุนและบริการแก่ลูกค้าได้มากขึ้น แทนที่จะเน้นการขายผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ทีมผู้บริหารเข้าใจดีว่า การจะทำให้องค์กรจัดการกับประเด็นข้อท้าทายดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น องค์กรจะต้องค้นหาและระบุปัจจัยสำคัญที่จะช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานคนสำคัญให้อยู่กับองค์กรให้ได้ ทีมผู้บริหารจะต้องมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของพนักงานที่แตกต่างกันไป ทั้งพนักงานแบบพาร์ทไทม์และพนักงานที่ทำงานเต็มเวลา และจะต้องมีการประเมินด้านคุณค่าหรือความสำคัญที่พนักงานมีต่อรางวัลตอบแทนและผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่องค์กรมอบให้ ไม่ว่าจะเป็นรางวัลตอบแทนโดยทั่วไป (เช่น เงินจูงใจระยะสั้น เงินจูงใจระยะยาว ผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ วันหยุด ส่วนลดสำหรับซื้อผลิตภัณฑ์ในร้าน) และรางวัลประเภทอื่น ๆ ได้แก่ เงินสนับสนุนด้านค่าเล่าเรียน เงินสนับสนุนพนักงานที่พิการ โปรแกรมส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน การยกย่องชื่นชมตามผลการทำงาน รูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น วันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร การเบิกจ่ายค่าเล่าเรียน และเงินสนับสนุนค่าเดินทางมาทำงาน


แนวทางที่ใช้


แนวทางที่องค์กรตัดสินใจนำมาใช้ในการจัดการกับประเด็นข้อท้าทายดังกล่าวคือการดำเนินโปรแกรม Total rewards Optimization หรือโปรแกรมเพื่อการปรับเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Total Rewards ให้พนักงานเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของพนักงานและปรับเปลี่ยนโปรแกรม Total Rewards ที่ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานได้สูงสุด ทั้งพนักงานขององค์กรในปัจจุบันและพนักงานกลุ่มใหม่ในอนาคต โดยกระบวนการรวบรวมข้อมูลที่จัดทำขึ้นเน้นวิเคราะห์ด้านตัวเลือกและความยืดหยุ่นของโปรแกรมรางวัลตอบแทนและความต้องการของพนักงานที่เหมาะกับทั้งพนักงานแบบพาร์ทไทม์และแบบเต็มเวลา

โดยร่วมกับ WTW องค์กรแห่งนี้ดำเนินการสำรวจข้อมูลโดยสอบถามพนักงานทุกคนทั้งแบบเต็มเวลาและแบบพาร์ทไทม์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรางวัลตอบแทนให้ตรงกับความต้องการของพนักงาน และใช้ข้อมูลผลลัพธ์มาสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินเกี่ยวกับการรับรู้ที่พนักงานมีต่อคุณค่าของรางวัลตอบแทนที่องค์กรต้องการมอบให้ รวมถึงประเมินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย การสำรวจในครั้งนี้ช่วยให้องค์กรค้นพบโอกาสในการปรับปรุงข้อเสนอ Total Rewards ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าของรางวัลตอบแทนและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับ พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายได้หลายล้านดอลลาร์ต่อปีด้วย นอกจากนี้การสำรวจยังช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงความคาดหวังของพนักงานเกี่ยวกับรางวัลตอบแทนที่องค์กรควรมอบให้นั้นแตกต่างจากมาตรฐานทั่วไปในตลาดอย่างไรด้วย

กระบวนการรวบรวมข้อมูลจากพนักงานที่องค์กรนำมาใช้มีทั้งการสำรวจ การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์พนักงาน แนวทางที่เน้นการอาศัยข้อมูลและข้อเท็จจริงเป็นหลักเช่นนี้ช่วยให้องค์กรตัดสินใจปรับเปลี่ยนข้อเสนอ Total Rewards ได้ตรงกับความต้องการและความคาดหวังของพนักงาน


ผลลัพธ์ที่ได้


ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรมเพื่อการปรับเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Total Rewards ให้พนักงานช่วยให้องค์กรมีข้อมูลและตัดสินใจปรับเปลี่ยนโปรแกรม Total Rewards ได้ตามความต้องการของพนักงาน พร้อมกับจัดการกับประเด็นข้อท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. เพิ่มอัตราการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรและเปลี่ยนจากพาร์ทไทม์เป็นเต็มเวลาได้มากขึ้น: การตระหนักถึงคุณค่าของพนักงานพาร์ทไทม์และบทบาทของพวกเขาที่มีต่อแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต ทำให้องค์กรตัดสินใจนำเสนอผลประโยชน์ให้พนักงานพาร์ทไทม์ในรูปแบบของสิทธิวันลาโดยได้รับเงินค่าจ้าง ซึ่งพนักงานต่างให้การตอบรับในทางที่ดีและส่งผลทำให้พนักงานมีความรู้สึกพึงพอใจและมีความจงรักภักดีต่อองค์กร และลดอัตราการลาออกของพนักงานพาร์ทไทม์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
  2. แผนประกันสุขภาพที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์ความต้องการของพนักงาน: ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการรวบรวมและวิเคราะห์และการมุ่งเน้นสร้างสรรค์ทำให้พนักงานมีความเป็นอยู่ที่ดี ช่วยให้องค์กรปรับปรุงแผนประกันสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อให้พนักงานมีทางเลือกที่หลากหลายและความคุ้มครองที่ได้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทขององค์กรที่มีต่อการสร้างสรรค์ทำให้พนักงานมีความเป็นอยู่ที่ดี และพนักงานต่างให้การตอบรับเป็นอย่างดีด้วย
  3. การยกย่องชื่นชมพนักงานและการประเมินผลการทำงาน: โปรแกรมเพื่อการปรับเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Total Rewards ให้พนักงาน ช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงความสำคัญของการยกย่องชื่นชมและมอบรางวัลตอบแทนแก่พนักงาน โดยได้ออกแบบกระบวนการประเมินผลการทำงานใหม่และจัดทำโปรแกรมขึ้นใหม่เพื่อการยกย่องชื่นชมพนักงานด้วย ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวเหล่านี้ต่างมีเป้าหมายเพื่อยกย่องชื่นชมผลการทำงานที่โดดเด่น และส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการยกย่องชื่นชมและความเป็นอยู่ที่ดี ส่งผลให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์กรและมีความพึงพอใจต่อการทำงานมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้องค์กรแห่งนี้สามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรม Total Rewards ให้สอดคล้องกับตลาดงานในปัจจุบันและตรงตามเป้าหมายขององค์กร โดยใช้แนวทางที่เน้นการอาศัยข้อมูลและข้อเท็จจริงมาประกอบการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็นของพนักงานในการจัดทำโปรแกรม Total Rewards ขององค์กร รวมถึงความสำคัญของการพยายามทำความเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของแต่ละกลุ่มพนักงานอยู่อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ องค์กรยังเข้าใจถึงความสำคัญของการสำรวจข้อมูลซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างองค์กรกับพนักงานที่ช่วยให้พนักงานได้รับทราบถึงคุณค่าที่องค์กรต้องการส่งมอบและความสำคัญของความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อองค์กรด้วยเช่นกัน

Contact us