องค์กรที่ส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง (DEI) ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร สามารถยกระดับความยั่งยืนและความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงลดความเสี่ยงขององค์กรได้ ในการสร้างโปรแกรมการส่งเสริม DEI ให้สำเร็จได้นั้น สิ่งสำคัญคือ องค์กรจะต้องดำเนินการอย่างมั่นใจ พร้อมกับจัดการเรื่องค่าใช้จ่าย พนักงาน และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างลงตัว
กลยุทธ์การส่งเสริม DEI ที่ดีเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในหมู่พนักงาน นอกจากนี้ ยังต้องมีการผนึกกลยุทธ์ DEI ไว้ในกลยุทธ์ด้านบุคลากรขององค์กรในทุกด้าน ให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับพนักงานและประสบการณ์การทำงานของพนักงาน ผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยให้ทั้งองค์กรและพนักงานก้าวหน้าเติบโต พร้อมกับสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่เป็นเลิศ
เราพร้อมช่วยองค์กรของคุณในการเริ่มต้นเดินทางสู่การส่งเสริม DEI ไม่ว่าองค์กรจะเพิ่งเริ่มต้นหรืออยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนการทำงาน เราพร้อมทำงานร่วมกับองค์กรของคุณ เพื่อมอบบริการ ด้าน DEI ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลด้านบุคลากร ความเสี่ยง และเงินทุน ซึ่งจะทำให้องค์กรของคุณพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าที่เคย อีกทั้งยังช่วยให้พนักงานประสบความสำเร็จและก้าวหน้าเติบโตต่อไป
82% ขององค์กรในปัจจุบันกำหนดให้คุณค่าและวัฒนธรรมขององค์กรมีการส่งเสริมด้าน DEI ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 91% ภายในปี 2025
(การสำรวจแนวปฏิบัติที่ดีด้านการดูแลสุขภาพของ WTW ปี 2023)
75% ขององค์กรทั่วโลกอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดให้ผลประโยชน์พนักงานมีการส่งเสริมด้าน DEI
(การสำรวจลำดับความสำคัญด้านผลประโยชน์พนักงานทั่วโลกของ WTW ปี 2023)
การเสริมสร้างด้าน DEI หมายถึงอะไร
การเสริมสร้างด้าน DEI หมายถึงการมุ่งมั่งสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ให้คุณค่าและเคารพคุณลักษณะเฉพาะ ภูมิหลัง และมุมมองของพนักงานทุกคนในองค์กร การเสริมสร้างด้าน DEI ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า แนวคิดการยอมรับความแตกต่างและความหลากหลาย หรือคำเรียกอื่น ซึ่งรวมถึงการสร้างสรรค์ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
จุดมุ่งหมายสำคัญคือการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของพนักงานทุกคน
ความหลากหลาย
ความหลากหลาย หมายถึง ระดับความแตกต่างของผู้คนในสถานที่ทำงาน ตามหลักการแล้ว ความหลากหลายควรสะท้อนถึงชุมชนโดยรอบขององค์กร ความหมายของความหลากหลายครอบคลุมมากกว่าเรื่องของเชื้อชาติและเพศสภาพของผู้คน โดยครอบคลุมถึงมิติต่าง ๆ ได้แก่
- เชื้อชาติ
- อายุและช่วงชีวิต
- รสนิยมทางเพศ
- ศาสนา
- ความพิการ
- สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
- ทหารผ่านศึก
- การมีสถานะเป็นผู้ดูแลผู้อื่นในครอบครัวที่เจ็บป่วยหรือพิการ
แต่ละมิติดังกล่าวมาพร้อมกับมุมมอง ประสบการณ์ และจุดเด่นที่ไม่เหมือนใครให้แก่ทีมในองค์กร และเมื่อได้รับการสนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นและโอกาสในการแสดงออกอย่างอิสระ พนักงานคือกลุ่มคนสำคัญที่ฟูมฟักแนวความคิดที่หลากหลายและสร้างสรรค์ ซึ่งช่วยให้องค์กรทำงานได้ดีขึ้น มีแนวคิดใหม่ ๆ และรับมือกับความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความเสมอภาค
ความเสมอภาค หมายถึง การรับฟังและทำความเข้าใจผู้คน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในด้านการมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี ความเสมอภาคมุ่งมั่นด้านการปฏิบัติต่อทุกคนอย่างยุติธรรม พร้อมให้โอกาสและทรัพยากรที่เท่าเทียมกันแก่พนักงานทุกคน โดยคำนึงถึงความแตกต่างกันด้านภูมิหลังและอุปสรรคข้อท้าทายที่แตกต่างกันที่ทุกคนต้องเผชิญกว่าจะประสบความสำเร็จ ความเสมอภาคจึงมุ่งมั่นจัดการด้านช่องว่างของความแตกต่าง ด้วยการให้ความช่วยเหลือ ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม และขจัดอุปสรรคที่ไม่เป็นธรรมที่มีอยู่ในระบบ
การยอมรับความแตกต่าง
การยอมรับความแตกต่างมีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของพนักงาน วัฒนธรรมที่ยอมรับความแตกต่างจะช่วยทำให้พนักงานรู้สึกถึงคุณค่า ได้รับความเคารพ และได้รับการสนับสนุนในการแสดงความคิดเห็นของตนเอง การยอมรับความแตกต่างมาพร้อมกับการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ด้วยการยกย่องและเคารพความหลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้พนักงานทำงานได้ดีและประสบความสำเร็จ ทำให้องค์กรมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีความสร้างสรรค์และยั่งยืนมากขึ้น
ทำไมการส่งเสริมด้าน DEI จึงสำคัญต่อองค์กร
เหตุผลที่ทำให้องค์กรควรส่งเสริมด้าน DEI มีหลายประการด้วยกัน ดังนี้
- ความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นในการทำงาน ค่าจ้าง อาชีพ สุขภาพและความเป็นอยู่ ผลลัพธ์ทางการเงิน และความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพนักงานที่ถือเป็นกลุ่มคนด้อยโอกาส
- ข้อกำหนดและกฎระเบียบการเปิดเผยข้อมูลการส่งเสริมด้าน DEI ฉบับใหม่และฉบับปัจจุบันทำให้ต้องมีการรีบเร่งแก้ไขช่องว่างความแตกต่างที่เกิดขึ้น
- พนักงาน ผู้บริโภค และนักลงทุนให้ความสำคัญต่อความก้าวหน้าของการส่งเสริมด้าน DEI ขององค์กร โดยคาดหวังให้องค์กรมีการส่งเสริมเรื่องความเสมอภาค การเชื่อมโยงทางสังคม และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของพนักงานทุกคน
- ความมุ่งมั่นที่เน้นการส่งเสริมด้าน DEI จะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน อีกทั้งยังช่วยให้มีพนักงานที่หลากหลายในทุกระดับตำแหน่งงาน ช่วยให้องค์กรว่าจ้าง รักษา และสร้างความผูกพันของพนักงาน รวมถึงรับประกันความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทุกคน
- กลยุทธ์การกำกับดูแลและการสร้างความผูกพันของผู้นำและผู้จัดการที่สอดคล้องกันคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรดำเนินกลยุทธ์การส่งเสริมด้าน DEI ได้สำเร็จ ซึ่งจะต้องมีการประเมินโปรแกรมและนโยบายด้านบุคลากรให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมด้าน DEI เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของพนักงานและครอบคลุมประสบการณ์ของพนักงานในทุกด้าน
การส่งเสริมด้าน DEI จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จทั้งในด้านของพนักงาน ลูกค้า นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียอื่น
33% คือจำนวนพนักงานที่เชื่อว่าการส่งเสริมด้าน DEI เป็นเรื่องที่มีความสำคัญในระดับสูงและให้คะแนนองค์กรของตัวเองในการส่งเสริมด้านนี้ในระดับที่ต่ำ มีแนวโน้มที่จะลาออกเพื่อรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น 5% มากกว่าพนักงานที่ให้คะแนนองค์กรในระดับที่สูง
การสำรวจทัศนคติด้านผลประโยชน์ทั่วโลกของ WTW 2022
การส่งเสริมด้าน DEI คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรดึงดูด รักษา และสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีความสามารถระดับสูงได้ การให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างด้าน DEI ยังส่งผลดีต่อองค์กรในเรื่องดังต่อไปนี้
- ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม
- ดำเนินการตัดสินใจได้ดีขึ้น
- สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียอื่น
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ความยั่งยืน และความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
จากการวิจัย พบว่า องค์กรที่มีความหลากหลายมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าองค์กรที่มีความหลากหลายในระดับที่น้อยกว่า โดยข้อมูลของ Global - Parity Alliance ชี้ว่า องค์กรที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและองค์กรที่มีความหลากหลายทางเพศภาพ มีแนวโน้มที่จะมีผลประกอบการสูงกว่าถึง 36% และ 25% (ตามผลตอบแทนรวมต่อผู้ถือหุ้น) เมื่อเทียบกับองค์กรที่มีความหลากหลายโดยเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกัน
แนวทางของเราในการช่วยองค์กรปลดล็อกศักยภาพด้วยการส่งเสริมด้าน DEI และวัฒนธรรมที่โอบรับพนักงานทุกคนให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
การส่งเสริมด้าน DEI และวัฒนธรรมที่โอบรับพนักงานทุกคนให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเป็นกระบวนการที่องค์กรจะต้องดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยองค์กรจะต้องมุ่งมั่นทุ่มเท พร้อมกับมีการประเมินและปรับเปลี่ยนอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งเสริมความแตกต่างหลากหลายและความเสมอภาคให้ได้สำเร็จ นอกจากนี้ องค์กรยังต้องออกแบบกลยุทธ์การจัดการให้มีความครอบคลุมและมีกระบวนการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีเครื่องมือและออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสมต่อความต้องการของผู้นำ ผู้จัดการ และพนักงาน โดยเป้าหมายสูงสุดคือการทำให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและสามารถที่จะก้าวเติบโตต่อไปในองค์กรได้
ขั้นตอนแรกคือการทำความเข้าใจแนวทางปัจจุบันขององค์กร พร้อมกับวิสัยทัศน์สู่การส่งเสริมด้าน DEI ในอนาคต ที่มีการเชื่อมโยงกลยุทธ์ด้านพนักงานและการดำเนินธุรกิจขององค์กรโดยรวม ขั้นตอนต่อไป จะเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ให้มีความชัดเจน พร้อมกับจัดทำกลยุทธ์ที่จะช่วยองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ได้สำเร็จ รวมถึงมีการสร้างแผนการดำเนินงานที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ด้วย เราพร้อมช่วยองค์กรในทุกขั้นตอนของการส่งเสริมด้าน DEI ไม่ว่าจะเริ่มจากการค้นหาแนวทางไปจนถึงการปรับเปลี่ยนแผนการที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงการพัฒนาจัดทำแบบจำลองการวัดผลและความรับผิดชอบขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
21% ขององค์กรอยู่ระหว่างการทบทวนหรือปรับปรุงกลยุทธ์ด้าน Total Rewards เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพลวัตการทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมด้าน DEI
(การสำรวจพลวัตการทำงานของ WTW ปี 2023)
กลยุทธ์ที่เราค้นพบที่จะช่วยให้องค์กรเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและผลการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กรได้สำเร็จมีดังนี้
- กลยุทธ์การส่งเสริมด้าน DEI รวมถึงการกำกับดูแลและการวิเคราะห์
- การจ่ายค่าตอบแทนด้วยความเสมอภาคและยุติธรรม
- โอกาสในการทำงานที่มีความเสมอภาค
- สิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทุกความแตกต่างหลากหลาย
- นโยบายการทำงานและการลาออก
- ประสบการณ์ของพนักงานที่ครอบคลุมทุกความแตกต่างหลากหลาย
- การสนับสนุนผู้นำและผู้จัดการ
- การกำหนดการส่งเสริมด้าน DEI ให้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
การกำหนดการส่งเสริมด้าน DEI ให้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ขององค์กรให้สำเร็จได้นั้น องค์กรจะต้องลงทุนลงแรงและมีการกำกับดูแลการส่งเสริมด้าน DEI ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรและผู้นำหรือด้านอื่น ๆ เช่น ความหลากหลายของซัพพลายเออร์ การฝึกอบรม หรือการเชื่อมโยงกับชุมชนภายในและภายนอกขององค์กร
เราทำงานร่วมกับองค์กรในการนำเอาตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลมาใช้วัดความสอดคล้องของพนักงานกับการส่งเสริมด้าน DEI และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับแนวทาง ESG ยกตัวอย่างเช่น มีตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับแนวทาง ESG ที่เป็นไปได้หลายประการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านทรัพยากรบุคคล เช่น ประสิทธิภาพด้านการผลิตต่อพนักงานหรือช่องว่างการจ่ายเงินค่าตอบแทน รวมถึงตัวชี้วัดใหม่ ๆ เช่น ประสบการณ์พนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในระดับสูงหรือการเข้าถึงโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะและยกระดับทักษะได้อย่างเท่าเทียมกัน เราพร้อมช่วยองค์กรค้นหาตัวชี้วัดที่จะช่วยให้องค์กรดำเนินการตามเป้าหมายได้สำเร็จ พร้อมกับปรับให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและแนวทาง ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากองค์กรสามารถดำเนินการส่งเสริมด้าน DEI และแนวทาง ESG ได้สำเร็จ สิ่งที่องค์กรเสริมสร้างนั้นไม่ใช่เพียงวัฒนธรรมองค์กรเท่านั้น แต่องค์กรยังสร้างความผูกพันของพนักงานให้ยิ่งแน่นแฟ้น เพราะองค์กรที่พนักงานต่างต้องการทำงานด้วยนั้นคือองค์กรที่มีการปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเสมอภาค รวมถึงมีการให้เกียรติและเคารพพนักงานทุกคน
เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน องค์กรจะต้องมีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ดี พร้อมกับมีการส่งเสริมด้าน DEI ในทุกประสบการณ์ของพนักงาน รวมถึงแนวทางด้าน ESG ขององค์กร เพราะหากพนักงานรู้สึกสบายใจที่จะเป็นตัวของตัวเองได้อย่างแท้จริง ผลลัพธ์ที่ตามมาคือสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทุกคนทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี มีความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรม และประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ทำให้การดำเนินธุรกิจขององค์กรมีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถจัดการกับข้อท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ